สุดทึ่ง! เมื่อ นาซา ทดลองนำแฝดคนหนึ่ง ขึ้นไปบนสถานีอวกาศ
เพื่อเปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย
เราอาจจะเคยได้ยินเรื่องราวของนักบินอวกาศที่ขึ้นไปทำภารกิจบนอวกาศนานหลายปี พอลงมากลับพบว่าลักษณะทางร่างกายนั้นยังคงดูไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเท่าไหร่นัก ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ไม่เคยได้รับการพิสูจน์ หรือทดสอบกันมาก่อนว่าเป็นเรื่องจริงหรือไม่ และเพราะสาเหตุใด แต่แล้วเมื่อไม่นานมานี้ เราก็ได้คลายข้อสงสัยลงจนได้ เมื่อนาซาได้ทดลองศึกษาคู่แฝดรายหนึ่ง โดยส่งคนพี่ขึ้นไปทำภารกิจบนสถานีอวกาศนานเกือบปี เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างคนที่ใช้เวลาในโลกกับนอกโลก ว่าจะมีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง ซึ่งผลที่ออกมาค่อนข้างน่าทึ่งเลยทีเดียว
โดยแฝดที่อยู่สถานีอวกาศนั้น ได้ค้นพบกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและทางพันธุกรรมมากมายเลยทีเดียว โดยสิ่งแรกเลยคือ เทโลเมียร์ คือดีเอ็นเอที่อยู่ส่วนปลายสุดของโครโมโซมทั้ง 32 คู่ เป็นตัวกำหนดอายุขัยของมนุษย์เราว่าจะสั้นหรือยาวแค่ไหน รวมไปถึงสามารถวิเคราะห์แนวโน้มการเกิดโรคต่างๆได้อีกด้วย โดยเทโลเมียร์ของแฝดที่อยู่บนอวกาศนั้นยาวขึ้น! ซึ่งสร้างความตกตะลึงให้กับนักวิทยาศาสตร์ ที่กำลังศึกษาโครงการ Human Research ของ NASA ในการใช้ เทโลเมียร์ ในการวัดอายุ โดยในขณะนี้นักวิทยาศาสตร์กำลังศึกษาความยาวของ เทโลเมียร์ เพื่อลดความชราและเอาชนะมะเร็ง แต่ถึงกระนั้นทางนักวิทยาศาสตร์ก็ยังคงไม่แน่ใจว่าทำไม เทโลเมียร์ ของแฝดที่อยู่ในอวกาศถึงได้ยาวขึ้นและมีความสนใจในการค้นหาต่อว่าเป็นเพราะสาเหตุใด และที่น่าแปลกใจก็คือหลังจากเขาได้กลับมายังโลก เทโลเมียร์ ของเขาก็เริ่มหดตัวและสั้นกว่าก่อนจะเริ่มภารกิจ เทโลเมียร์ที่สั้นลงเชื่อมโยงกับอายุและโรค
นอกจากนี้ยังเกิดความเปลี่ยนแปลงอื่นๆตามมาทั้งทางร่างกายและจิตใจ พบการเปลี่ยนแปลงของจุลินทรีย์ในลำไส้และการเปลี่ยนแปลงของยีน รวมไปถึงความสามารถทางปัญญาของก็ลดลงหลังจากผ่านไปหนึ่งปีบนอวกาศ ความเปลี่ยนแปลงยังคงเกิดขึ้น แม้กระทั่งผ่านไปหกเดือนหลังจากการลงจอด เขาถูกจู่โจมด้วยไข้หวัดขณะอยู่ในอวกาศและร่างกายของเขาตอบสนองอย่างที่มันควรจะเป็นบนโลก ถือเป็นการทดสอบที่ให้หลักฐานว่าระบบภูมิคุ้มกันไม่ทำงานระหว่างการบินอยู่บนอวกาศ
นักวิทยาศาสตร์คิดว่าการศึกษานี้ให้ความกระจ่างเกี่ยวกับวิธีที่ร่างกายมนุษย์สามารถปรับตัวในสภาวะบนยานอวกาศได้อย่างน่าทึ่ง อีกทั้งการวิจัยยังช่วยให้เราเข้าใจว่าร่างกายมนุษย์ตอบสนองต่อแรงกดดันอื่นๆ ได้อย่างไร โดยการศึกษาของฝาแฝดแสดงให้เห็นชัดเจนถึงระดับความยืดหยุ่นและความทนทานของโมเลกุลในระดับหนึ่งว่าร่างกายมนุษย์สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมในอวกาศได้อย่างไร
Source: Engadget