Niantic Labs เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจเทคโนโลยีการพัฒนาเกมชื่อดังอย่าง Pokemon Go และ Pikmim Bloom ได้สัมผัสผ่านทางแอปพลิเคชัน AR และ real-world metaverse ในโลกเสมือนจริง โดยนักพัฒนาสามารถเริ่มใช้แพลตฟอร์ม Niantic Lightship ได้แล้ววันนี้ พร้อมกับบริษัทยังได้ประกาศกองทุนเพื่อสนับสนุนโครงการมูลค่า 20 ล้านดอลลาร์เพื่อสนับสนุนนักพัฒนาที่ "แบ่งปันวิสัยทัศน์ของเราเกี่ยวกับ metaverse ในโลกแห่งความเป็นจริงและสนับสนุนระบบนิเวศทั่วโลกที่เรากำลังสร้าง"
นักพัฒนาสามารถใช้ชุดเครื่องมือของ Ninatic เพื่อสร้างแผนที่แบบ 3 มิติแบบเรียลไทม์ เพื่อให้แอปสามารถเข้าใจพื้นผิวและภูมิประเทศของโลกที่ล้อมรอบอุปกรณ์ได้ ในขณะที่ API อื่นๆ จะช่วยให้แอปทราบถึงความแตกต่างของสภาพแวดล้อมต่างๆ เช่น พื้นดิน ท้องฟ้า น้ำ และอาคาร ชุดเครื่องมือนี้ยังช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างแอปที่อนุญาตให้ผู้เข้าร่วมสูงสุดได้ 5 คน สำหรับเซสชันหลายคนบน AR เดียวกันได้ ทำให้เนื้อหาและการโต้ตอบทั้งหมดของพวกเขาซิงค์กันได้อย่างราบรื่น
เครื่องมือส่วนใหญ่จะฟรีครับ แต่ API แบบผู้ใช้หลายคนจะใช้งานได้ฟรีในช่วง 6 เดือนแรก ไม่ว่าแอปจะมีผู้ใช้กี่คนก็ตาม หลังจากนั้น Niantic จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหากมีการใช้ API ในแอปที่มีผู้ใช้งานมากกว่า 50,000 รายต่อเดือนไปแล้ว
ที่ผ่านมามีแบรนด์ที่มีชื่อเสียงหลายแห่งได้เข้าร่วมในรุ่นเบต้าส่วนตัวของชุดพัฒนานี้แล้ว ยกตัวอย่างเช่น Universal Pictures, PGA of America และ Warner Music Group รวมไปถึง Coachella ที่กำลังจะสร้างประสบการณ์ AR ที่ให้ผู้เข้าร่วมงานเทศกาลในปีหน้า โดยผู้เข้าร่วมจะสามารถมองเห็นผีเสื้อขนาดใหญ่ของ Coachella ที่ลงจอดบนหอทางเดินรุ้ง Spectra เจ็ดชั้นได้ ประมาณนั้น
ในขณะเดียวกัน Shueisha กำลังทำงานร่วมกับนักพัฒนา T&S เพื่อนำตัวละครจาก One Piece และมังงะอื่นๆ มาสู่โลกแห่งความเป็นจริงด้วย AR โดยแอปนั้นจะพร้อมใช้งานในปี 2022
วิสัยทัศน์ของ Niantic เกี่ยวกับ metaverse นั้นแตกต่างอย่างมากจาก Meta บริษัทแม่ของ Facebook ที่เน้นความเป็นจริงเสมือนในอนาคต ในบล็อกโพสต์เมื่อเดือนสิงหาคม John Hanke ซีอีโอกล่าวว่า "เมตาเวิร์สในโลกแห่งความเป็นจริง" เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเชื่อมต่อโลกทางกายภาพและโลกดิจิทัล มากกว่าที่จะมีอยู่เพียงประสบการณ์เสมือนจริง ด้วยเหตุนี้ บริษัทของเขาจึงได้ทำงานกับแว่นตา AR ร่วมกับ Qualcomm ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา
source: engadget