ในปี 2020 เป็นปีที่เจอกับวิกฤตหลายอย่าง แต่ก็เป็นปีที่สำคัญสำหรับอุตสาหกรรมสมาร์ทโฟนในหลายๆ ด้าน ทั้งนวัตกรรม 5G ที่สามารถเข้าถึงอุปกรณ์ได้หลากหลายระดับราคาไม่เพียงเฉพาะเรือธง และอีกหลายนวัตกรรมดีไซน์สมาร์ทโฟนที่น่าตื่นเต้นอีกมากมาย แต่ก็มีเทรนด์สมาร์ทโฟนบางอย่างที่เกิดขึ้นมาแล้วรู้สึกว่าควร "พักก่อน" และพอแค่ในปีนี้กับ 7 เทรนด์สมาร์ทโฟนในปี 2020 ที่ไม่ควรมีอีกต่อไปในปี 2021 จะมีอะไรบ้างนั้นมาดูกัน
ใดๆ ล้วนมี "5G" ต่อท้ายชื่อ
ยอมรับว่าปีนี้เป็นปีที่ 5G เริ่มขยับเข้ามาใกล้ชิดผู้คนมากขึ้น แต่อีกสิ่งที่ต้องยอมรับก็คือความเสถียรภาพของ 5G ยังไม่สามารถใช้งานได้อย่างแพร่หลายทุกพื้นที่ ซึ่งเชื่อว่าหลังจากนี้ในปีแรกหรือ 2 ปี สมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ที่รองรับ 5G จะใช้คำต่อท้ายว่า 5G แทบจะทั้งสิ้น เป็นการสนับสนุนในสิ่งที่ยังไม่พร้อม และดูจะเป็นการให้คำสิ้นเปลืองยาวเหยียดไปสักนิด ก็คาดหวังว่าในปีหน้าผู้ผลิตจะเลิกใช้หลักการตั้งชื่อนี้ในโทรศัพท์ไฮเอนด์ปีหน้า
หยุด! ใช้ Glasstic กับมือถือราคา 30,000 บาท!!
อย่างที่หลายคนรู้กันว่าวัสดุฝาหลังของมือถือหลายรุ่นใช้สิ่งที่ถูกเรียกว่า Glasstic the classic ที่ได้รับการออกแบบให้มีดีไซน์และ texture เหมือนกับแก้ว ซึ่งสิ่งนี้มันไม่ผิดถ้าถูกใช้กับมือถือรุ่นล่างราคาไม่แพง แต่มันจะดูไม่คุ้มค่าเท่าไหร่นักถ้าจะไปบรรจุอยู่ในมือถือราคาพันเหรียญ หรือ 30,000 บาทอย่างใน Samsung Galaxy Note 20 มันคงจะดูโอเคกว่าถ้าบริษัทเลือกปรับแต่งวัสดุที่ทำจากแก้วเพื่อให้ Texture ที่เหมือนแก้วมากกว่า
กล้อง 2MP เอามาเพื่อ!?
สิ่งหนึ่งที่น่าอึดอัดใจไม่น้อยกับเทรนด์สมาร์ทโฟน 2 ปีให้หลังนี้ ก็คือการใช้เซ็นเซอร์คุณภาพต่ำความละเอียด 2 ล้านพิกเซล ซึ่งเป็นความพยายามที่โปร่งใสในการเพิ่มจำนวนกล้อง เป็นกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อให้รู้สึกว่าคุ้มค่า กล้อง 2 ล้านจำนวน 2 ตัว ฟังดูดีแต่ความจริงแล้วมันค่อนข้างจะไร้ประโยชน์ไม่น้อย
สิ่งที่ผู้ใช้งานต้องการและหวังว่าแบรนด์จะเห็นความสำคัญหลักการเลือกใช้กล้องที่มีคุณภาพมากกว่าปริมาณในปี 2021 หรือพูดง่ายๆ ก็คือเราพอใจกับการมีกล้องคุณภาพดีมากกว่ากล้องเยอะ เราต้องการให้แบรนด์ปรับปรุงคุณภาพของเลนส์ Ultra-Wide หรือมาโคร แทนที่การเพิ่มจำนวนเลนส์มากมายแต่ใช้งานไม่ได้จริง
หรูหราระดับเรือธงแต่การชาร์จยังคงเชื่องช้า
มีคนจำนวนไม่น้อยที่ให้ความใส่ใจกับเรื่องแบตเตอรี่ในการใช้งาน ทั้งความจุและความเร็วในการชาร์จ แต่ก็ยังมีมือถือเรือธงอีกหลายรุ่นที่ความเร็วในการชาร์จยังคงทำได้เชื่องช้า 18W 20W ซึ่งน่าผิดหวังไม่น้อย ในขณะที่แบรนด์ Xiaomi Mi 10 Ultra และ OnePlus 8T สามารถให้ประสิทธิภาพความเร็วในการชาร์จได้ถึง 65W หรือสูงสุด 100W+ ในปีหน้า
ในทางกลับกันก็มีผู้ใช้งานหลายคนกังวลว่าความเร็วในการชาร์จอาจทำให้แบตเตอรี่เสื่อมลงเมื่อเวลาผ่านไป แต่ในท้ายที่สุดแล้วมือถือทุกรุ่นก็จะได้รับการอัพเดทความเร็วในการชาร์จในอนาคตอยู่ดี และมันจะดีมากเลยถ้าสิ่งนี้เกิดขึ้นในปี 2021
ข้อจำกัดผูกมัดในการอัพเดท
ในปีที่ผ่านมา Google มีความมุ่งมั่นที่จะสร้างการอัพเดทระบบให้กับโทรศัพท์ Pixel เป็นเวลา 3 ปี นอกจากนี้ Samsung ก็เข้าร่วมเป็นอีกหนึ่งแบรนด์ที่มีความมุ่งมั่นตามมาพร้อมประกาศอัพเดทเวอร์ชั่น Android ภายใน 3 ปีสำหรับอุปกรณ์บางรุ่น แต่นอกจากนี้ก็ยังมีอีกหลายแบรนด์ที่ยืนยันการอัพเดทเพียงครั้งเดียวอย่าง OnePlus Nord N10 และ N100 รวมไปถึง Motorola ที่ดูเหมือนพยายามหลีกเลี่ยงการอัพเดทเวอร์ชั่น 1 สำหรับ Edge Plus มูลค่าเหยียบพันเหรียญ ก่อนที่ภายหลังจะทำการเปลี่ยนกลับมาเป็นการอัปเดท 2 เวอร์ชั่น
ถ้าพูดถึงความเป็นจริงแล้วต้องบอกว่าผู้คนเริ่มใช้งานโทรศัพท์ 1 เครื่องเป็นระยะเวลาที่ยาวนานขึ้น เนื่องจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ รวมไปถึงเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นบนโลก เพราะฉะนั้นการจำกัดการอัพเดทซอฟแวร์ ดูจะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างน่าผิดหวังพอสมควรเลย
ปริมาณอยู่เหนือคุณภาพ
ในช่วงปีหรือ 2 ปีที่ผ่านมานี้ เราได้เห็นการแตกตัวเป็นซีรีย์ในมือถือหลายแบรนด์ ซึ่งแต่ละรุ่นในซีรีย์เดียวกันเมื่อแยกสเปคการใช้งานออกมาแล้ว คุณภาพแทบจะไม่ได้แตกต่างกันเลย มีเพียงตัวเลขที่เปลี่ยนแปลงไปเล็กน้อยเท่านั้น ในมุมมองหนึ่งมันอาจจะดูเหมือนมีตัวเลือกให้มากมาย แต่บางครั้งมันก็สร้างความรู้สึกสับสนและลังเลไม่น้อยทีเดียวว่าเราควรจะตัดสินใจเลือกรุ่นไหนในซีรีย์นั้นๆ ดี
นี่ก็เป็นความคิดเห็นส่วนหนึ่ง ซึ่งบางคนอาจจะมีมุมมองที่แตกต่างกัน เอาเป็นว่าใครมีมุมมองแบบไหนก็ลองเอามาแชร์กันถึงสิ่งที่อยากให้มีในสมาร์ทโฟนปี 2021 นี้ แล้วเรามารอดูกันปีหน้า
Source: androidauthority