เปิดฟีเจอร์การซูมบนกล้องโทรศัพท์มือถือ 'ซูมสุดด้วยเลนส์แบบไหน ถึงจะไม่ต้องพึ่งกล้องโปร'
กล้องเอสแอลอาร์ (Single-lens reflex camera) มีบทบาทสำคัญในโลกของการถ่ายภาพมาโดยตลอด จนปัจจุบันได้กลายเป็นเหมือนตัวแทนศาสตร์และศิลป์แห่งการถ่ายภาพไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นช่างภาพมืออาชีพหรือมือสมัครเล่น ต่างก็ต้องมีกล้องสี่เหลี่ยมสีดำพร้อมเลนส์ เป็นเหมือนสัญลักษณ์ที่แสดงความเป็นช่างภาพของทุกคถึงแม้ว่าพัฒนาการทางเทคโนโลยีจะผลักดันให้กล้องเอสแอลอาร์วิวัฒนาการมาเป็นกล้องดีเอสแอลอาร์ (Digital single-lens reflex camera) แต่รูปลักษณ์ภายนอกของกล้องระดับโปรก็ยังคงเหมือนเดิม และช่างภาพที่ต้องการถ่ายภาพให้ออกมายอดเยี่ยมที่สุดก็ยังคงต้องหิ้วกระเป๋ากล้องใบใหญ่ ขาตั้ง และไฟติดตัวไปด้วย
การมาถึงของสมาร์ทโฟนที่มีความสามารถในด้านการถ่ายภาพสูง จากเดิมกับภาพถ่ายคุณภาพต่ำจากกล้องในมือถือรุ่นเก่า กลายมาเป็นภาพถ่ายที่คมชัด ครอบคลุมทิวทัศน์ได้กว้างขวาง และยังควบคุมการโฟกัส ถ่ายช็อตละลายหลังได้อย่างสวยงาม แต่สิ่งหนึ่งที่ยังไม่มีอะไรเข้ามาแทนที่กล้องเอสแอลอาร์ได้ คือการซูมโดยไม่สูญเสียคุณภาพของภาพการซูมได้อย่างไร้ขีดจำกัดทำให้กล้องเอสแอลอาร์สามารถถ่ายภาพได้จากระยะที่กล้องอื่นไม่สามารถทำได้เทียบเท่า
HUAWEI P30 Pro เป็นสมาร์ทโฟนรุ่นแรกที่ก้าวขึ้นมาเทียบชั้นกับกล้องระดับโปรในด้านการซูม ด้วยการสร้างเลนส์ซูมที่สามารถซูมได้ถึง 5 เท่า แต่ยังเล็กพอที่จะติดตั้งไว้บนด้านหลังของโทรศัพท์มือถือ โดยได้รับแรงบันดาลใจจากกล้องปริทรรศน์ที่ใช้ส่องจากเรือดำน้ำที่นำการหักเหของแสงมาประยุกต์ใช้เพื่อขยายระยะโฟกัสของเลนส์ จึงซูมได้ไกลขึ้นโดยที่ไม่ทำให้ตัวเลนส์มีขนาดเล็กลง ด้วยเลนส์ปริซึมที่ช่วยหักเหแสงเพื่อการซูมอย่างเหนือชั้น ในพื้นที่เพียงแค่ 1 เซนติเมตร
ซึ่งแบรนด์โทรศัพท์มือถือต่างๆ ในปัจจุบัน ต่างทยอยเปิดตัวฟีเจอร์การซูมของกล้องที่ล้ำยิ่งขึ้น ในบางรุ่นเรือธงหรือรุ่นระดับสูงของโทรศัพท์ปัจจุบัน สามารถซูมแบบออพติคัลได้ถึง 10 เท่า และดิจิทัลได้ถึง 100 เท่า แต่ก็ต้องยอมรับว่ารุ่นปกติของมือถือที่ผู้ใช้ทั่วไปจะสามารถเข้าถึงได้ ก็ยังมีความสามารถในการซูมได้ราวๆ 3 เท่าในแบบออพติคัล และ 30 เท่าในแบบดิจิทัลอยู่ดี
อีกหนึ่งจุดที่ต้องรีเช็คกันให้ดีๆ คือการถ่ายภาพซูมในที่แสงน้อย อันนี้ต้องดูความสามารถในการซูมของกล้องโทรศัพท์ร่วมกับ f-stop (รูรับแสง) ของเครื่อง ในกรณีที่รูรับแสงไม่สามารถรับแสงได้มาก เมื่อบวกกับระบบกล้องที่ถ่ายภาพด้วยความละเอียดสูงมากในที่มืดแล้ว อาจทำให้ถ่ายภาพแบบซูมระยะไกลทำได้ดีเฉพาะในเวลากลางวัน หรือเมื่อมีแสงมากพอเท่านั้น ซึ่งอาจไม่ตอบโจทย์การใช้งานจริงอยู่ดี การเลือกใช้เทคโนโลยีเข้ามาทำงานร่วมกับเลนส์ซูม เช่น การใช้เซ็นเซอร์ที่รับแสงได้มาก อาจจะเป็นทางออกสำหรับการถ่ายภาพด้วยเลนส์ซูมของกล้องโทรศัพท์มือถือในทุกสภาพแสง
อีกหนึ่งปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงในการถ่ายภาพซูม คือการควบคุมความนิ่งของภาพ เพราะการถ่ายภาพซูมนั้นไม่ค่อยต่างจากการยิงธนูนัก ยิงเป้าหมายใกล้เท่าไร ยิ่งทำให้มือสั่นได้มากเท่านั้น ใครหลายคนที่เคยได้ทดลองการซูมระยะ 100 เท่ามาแล้ว น่าจะทราบดีว่าการถ่ายภาพให้นิ่งไม่ใช่เรื่องง่าย แม้จะใช้ขาตั้งกล้องช่วยก็ตาม จึงนับเป็นอีกหนึ่งข้อจำกัดสำหรับกล้องซูม การผสมผสานการทำงานระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ด้วยเทคโนโลยี Optical Image Stabilisation (OIS) จับคู่กับ AI Image Stabilisation (AIS) ที่มีในโทรศัพท์ของหัวเว่ย เป็นหนึ่งในวิธีเพิ่มความนิ่งขณะถ่ายภาพด้วยเลนส์ซูม ซึ่งแน่นอนว่าแบรนด์ยังคงให้ต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยีนี้ควบคู่กับเลนส์ซูมในอนาคตต่อไป
การเปิดตัวเลนส์ซูมออพติคัลหลายเท่าออกสู่ตลาด ไม่ได้เป็นการการันตีว่าภาพที่ถ่ายได้จากการซูมนั้น จะยังคงมีความคมชัดและสีสันสดใสเหมือนเคย ขณะที่แบรนด์ต่างๆ ก็ยังคงพัฒนาเทคโนโลยีในกล้องสมาร์ทโฟนอย่างไม่หยุดยั้ง ดังจะเห็นได้จากนวัตกรรมในมือถือรุ่นต่างๆ ที่ผ่านมา นับตั้งแต่ตั้งแต่ระบบสองกล้องไปจนถึง AI และเลนส์ซูมแบบหักเหแสงที่มีใน HUAWEI P30 จึงยังต้องรอดูกันต่อไปว่าสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ๆ ต่อไปของแบรนด์ต่างๆ จะยกระดับยกระดับศักยภาพการซูมและคุณภาพการถ่ายภาพไปได้ไกลขนาดไหน