นักวิจัยค้นคว้าคอนเเทคเลนส์ที่สามารถซูมเข้า-ออกได้เพียงเเค่กระพริบตา!?
เชื่อหรือไม่คอนแทคเลนส์ยังคงเป็นตัวเลือกหลักสำหรับผู้มีปัญหาทางสายตาเพื่อช่วยให้การมองเห็นของพวกเขาดีขึ้น เเต่สำหรับข่าวที่เรามานำเสนอในวันนี้จะเป็นการเปิดตัวนวัตกรรมใหม่ที่จะมาเเน่ๆในอนาคตนี้ สำหรับตัวเลือกของผู้ใช้งานคอนเเทคเลนส์เพื่อสายตา
โดยข่าวที่ถูกเปิดเผยออกมาเกี่ยวกับเจ้าคอนแทคเลนส์โปรโตไทป ที่สามารถสลับระหว่างการโฟกัสของวัตถุที่อยู่ใกล้และไกลรวมถึงการซูม ซึ่งได้รับการพัฒนาโดยนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ณ เมือง ซานดิเอโก ตัวคอนแทคเลนส์อัจฉริยะยังคงห่างไกลจากความเหมาะสมกับสายตามนุษย์ ซึ่งยังทดลองกันเป็นเวลานานหลายปี
จากข้อมูลของ Gizmodo ผู้ซึ่งได้ทำการวิจัย พบว่าตัวคอนแทคเลนส์มีต้นแบบทั้งหมดสองส่วน เรียกว่า 'A Biomimetic Soft Lens ซึ่งควบคุมโดย Electrooculographic Signal'
(ภาพตัวอย่างอุปกรณ์ที่นักวิจัยใช้ในการทดสอบ)
ทั้งสองส่วนประกอบด้วยเลนส์เดี่ยวซึ่งเลียนแบบวิธีการทำงานของเลนส์ตามนุษย์ แต่มีโครงสร้างเป็นฟิล์มโพลิเมอร์ยืดหยุ่นผสมกับเนื้อเยื่ออินทรีย์ ฟิล์มดังกล่าวมีการเปลี่ยนแปลงตามโครงสร้างของตา โดยเมื่อมีการใช้กระแสไฟฟ้าขยายเพื่อลดความหนาของเลนส์เเละเพิ่มการหดตัวของเลนส์ ส่งผลให้จุดโฟกัสของแสงมีการเปลี่ยนแปลงของการมองเห็น
ส่วนที่สองของเลนส์ประดิษฐ์คือส่วนการควบคุม โดยมีการทดลองทางวิทยาศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องเล็กน้อย นักวิจัย Gizmodo สรุปสั้น ๆ ได้ว่า ”เลนส์จะสามารถตรวจจับสัญญาณ Electrooculographic ที่เกิดจากสายตามนุษย์ได้โดยมีขั้วไฟฟ้าวางอยู่บนผิวหนังรอบดวงตาเพื่อวัดความแตกต่างระหว่างด้านหน้าและด้านหลังของตา ติดตามการเคลื่อนไหวบนดวงตาของพวกเขา”
อย่างไรก็ตามส่วนที่น่าสนใจของการวิจัยนี้คือวิธีที่คอนแทคเลนส์จะถูกควบคุม แทนที่จะเป็นปุ่มที่ผู้สวมใส่จะต้องกดปุ่ม เเต่สั่งการด้วยการกระพริบตาในเเต่ละครั้งที่ใช้งาน เลนส์จะสามารถตรวจจับสัญญาณ Electrooculographic ที่เกิดจากสายตามนุษย์ ขณะกระพริบตาอยู่ คุณอาจไม่ทราบ แต่มีสนามไฟฟ้าที่พบในเนื้อเยื่อที่ล้อมรอบดวงตามนุษย์และความแตกต่าง ที่สามารถวัดได้ระหว่างด้านหน้าและด้านหลังของตา ด้วยการวางอิเล็กโทรดไว้บนผิวหนังรอบดวงตาทำให้สามารถวัดความแตกต่างได้ในขณะที่ดวงตาเคลื่อนที่ ซึ่งทำให้สามารถติดตามและแปลการเคลื่อนไหวเหล่านั้นได้ที่อื่น
ยังมีอีกหลายอย่างที่ต้องปรับปรุงก่อนที่จะนำเลนส์ต้นแบบนี้มาใช้งานได้จริง แต่ก็น่าตื่นเต้นที่จะเห็นว่าเทคโนโลยีนี้จะได้ถูกใช้งานในอนาคต
เเหล่งที่มาpocket-lint.com,gizmodo.com