ก้าวไปอีกขั้น !! Sony จดสิทธิบัตรคอนแทคเลนส์อัจฉริยะ สามารถบันทึกภาพและวีดีโอได้เพียงกระพริบตา !
ด้วยเทคโนโลยีของ Nikola Tesla อัจฉริยะที่โลกเกือบได้ลืมชื่อของเขาไปแล้วเมื่อร้อยปีก่อน เขาเป็นคนแรกที่ค้นพบเทคโนโลยีเกี่ยวกับการใช้คลื่นวิทยุร่วมกับเทคโนโลยีการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าหรือการสั่นพ้องของสนามแม่เหล็กไฟฟ้า และเมื่อประกอบกับนาโนเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้ Sony ประสบความสำเร็จในการสร้างและจดสิทธิบัตร คอนแทคเลนส์อัจฉริยะ ที่สามารถถ่ายภาพและบันทึกวิดีโอได้ด้วยการกระพริบตา
ซึ่งเราก็คงเคยเห็นเทคโนโลยีนี้ปรากฏในภาพยนตร์สายลับไฮเทคต่างๆ นับว่าเห็นกันเกือบทุกเรื่อง และในวันนี้คอนแทคเลนส์ถ่ายภาพและบันทึกวิดีโอได้นั่นจะได้กลายเป็นของจริง เมื่อ Sony ได้ยื่นขอจดสิทธิบัตรเทคโนโลยีนี้แล้ว
นอกจาก Sony แล้ว ก็มีผู้พัฒนาคอนแทคเลนส์อัจฉริยะอีกหลายราย เช่น Samsung และ Google ที่กำลังพัฒนาคอนแทคเลนส์ที่สามารถถ่ายภาพ, บันทึกวิดีโอ, ใช้ตรวจสอบปริมาณน้ำตาลในเลือดของร่างกายผู้ใส่คอนแทคเลนส์ รวมไปถึง ใช้ในการเล่นเกมออนไลน์อย่างไร้ขีดจำกัด นับว่าอัพระดับขั้นในการใช้ชีวิตประจำวันไปอีกขั้นกันเลย
ในส่วนคอนแทคเลนส์ของ Sony จะประกอบด้วยยูนิตบันทึกภาพ, ยูนิตที่ควบคุมส่วนกลาง, ยูนิตหลักพร้อมด้วยเสาอากาศ, พื้นที่จัดเก็บ และ Piezoelectric Sensor จากยูนิตที่กล่าวถึงนั้นมีหน้าที่รับผิดชอบในการตรวจสอบเวลาว่าเปลือกตายังคงเปิดอยู่และตรวจสอบการกระพริบเพื่อที่จะทำการถ่ายภาพรวมถึงการกระพริบตาปกติที่ทำโดยไม่รู้ตัว ซึ่งจะทำให้ตัวอุปกรณ์สามารถแยกความแตกต่างระหว่างการกะพริบตาเพื่อถ่ายภาพและการกะพริบตาตามปกติได้
ตามที่ระบุไว้ในสิทธิบัตรของ Sony การกระพริบตาจากจิตใต้สำนึกจะอยู่ระหว่าง 0.2 ถึง 0.4 วินาที ดังนั้นสิทธิบัตรระบุว่าหากกระพริบตาเกินกว่า 0.5 วินาที มันจะทำงานตามวัตถุประสงค์ของมนุษย์และจะถือว่าเป็นการกะพริบตาผิดปกติทำให้กล้องในคอนแทคเลนส์จะทำการจับภาพ เสาอากาศในคอนแทคเลนส์จะจ่ายพลังงานให้กับคอนแทคเลนส์แบบไร้สาย โดยแหล่งพลังงานจะส่งมาจากสมาร์ทโฟน, สมาร์ทแท็บเล็ตหรือคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ค้นพบครั้งแรกโดย Nikola Tesla เป็นเทคโนโลยีใช้คลื่นวิทยุร่วมกับการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าหรือการสั่นพ้องของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าและคอนแทคเลนส์อัจฉริยะนี้ยังสามารถซูมได้และมีระบบ Autofocus ด้วย
อย่างไรก็ตามคอนแทคเลนส์อัจฉริยะของ Sony นี้ยังต้องผ่านการทดสอบอย่างเข้มงวดก่อนที่จะถูกสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด เนื่องจากเทคโนโลยีนี้เป็นแนวคิดที่น่าสนใจแต่ก็น่าเป็นห่วงเกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัยต่อการใช้งานเช่นกัน เราอาจจะยังไม่เห็นของจริงในเร็ววันนี้แน่ ๆ แต่ก็ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดีครับ
ที่มา : Anonhq