Review : Asus U53J ผสานความแรงเข้ากับธรรมชาติอย่างลงตัว
- Summary: สรุปผลการทดสอบ
- Specifications: รายละเอียดของตัวเครื่อง
- Performance: ความเร็วและประสิทธิภาพ
- Battery Life: ระยะเวลาการใช้งานด้วยแบตเตอรี่
Summary: สรุปผลการทดสอบ
Reviewed by natdhapoom, Photo by natdhapoom & Miss IT
แม้ว่าโลกของเราจะหมุนตามกระแสเทคโนโลยีเร็วแค่ไหน แต่เรื่องของการหันกลับไปใส่ใจธรรมชาติ ก็ยังเป็นสิ่งที่จะมองข้ามหรือละเลยไม่ได้เช่นกัน ดังจุดประสงค์หลักของ Asus U53F โน้ตบุ๊คที่นำ "ไม้ไผ่" เข้ามาผสมผสานกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้อย่างลงตัว ดีไซด์ของ U53F ถือว่าโดดเด่น ไม่ด้อยไปกว่าโน้ตบุ๊คเครื่องใดในปัจจุบัน เพียงแต่มีการนำไม้ไผ่เข้ามาเพิ่มบริเวณที่รองข้อมือและฝาหลัง
ด้านประสิทธิภาพ ซึ่ง Asus จัดเต็มด้วยซีพียู Intel Core i7 ความเร็วสูงถึง 2.67GHz เพียบพร้อมด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่าง Intel Turbo Boost ที่จะเร่งความเร็วซีพียูเมื่อถูกใช้งานเพียงแกนเดียว (จากทั้งหมด 2 แกน 4 เธรด), แรม DDR3 ความจุรวม 4GB ตลอดจนฮาร์ดดิสก์ที่มีขนาดความจุสูงถึง 500GB (ความเร็ว 5,400 รอบต่อวินาที) จะตินิดเดียวก็คือเรื่องของชิปกราฟิก ที่เป็นชิปรุ่นล่างอย่าง NVIDIA GeForce 310M ซึ่งไม่เหมาะกับการนำไปเล่นเกม 3 มิติ เท่าที่ควร ทางที่ดี หากอัพเกรดสเปคฯ เฉพาะในส่วนของชิปกราฟิกเป็นรุ่นกลาง หรือรุ่นที่ใหม่กว่านี้ ก็น่าจะช่วยให้ผู้บริโภคตัดสินใจง่ายขึ้นอีกหลายเท่าตัว
จุดเด่นอื่นๆ ที่จะมองข้ามไม่ได้ คงเป็นพอร์ต USB 3.0 ที่ Asus จัดใส่มาให้จำนวน 1 พอร์ต แม้ในปัจจุบัน จะมีอุปกรณ์ที่รองรับเทคโนโลยีดังกล่าวนับชิ้นได้ แต่เชื่อว่าอนาคตอันใกล้ เทคโนโลยี USB 3.0 น่าจะเข้ามาแทนที่ USB 2.0 ได้อย่างแน่นอน...ไม่ตัวฟังธง!
ข้อดี:
+ เป็นโน้ตบุ๊คที่มีหน้าจอขนาดใหญ่
+ ประสิทธิภาพโดยรวม (ซีพียูและแรม) ของเครื่องอยู่ในเกณฑ์ดี
+ ซีพียู Intel Core i7 พร้อมแกนประมวลผลถึง 4 แกน (2 แกนแท้ และอีก 2 แกนจำลอง) ถือเป็นหนึ่งในไม่กี่รุ่นที่ใช้ซีพียูประสิทธิภาพสูงขนาดนี้
+ ใช้วัสดุที่เป็นธรรมชาติต่อสิ่งแวดล้อม
+ แสงสว่างค่อนข้างสูง เหมาะกับการใช้งานกราฟิกหรืองานที่ต้องการความละเอียดของภาพมากๆ
+ ลำโพง จัดว่าขับเสียงในระดับที่ดี ให้อรรถรสระหว่างการใช้งานที่ดีกว่าโน้ตบุ๊คทั่วไปค่อนข้างมาก
ข้อเสีย:
- แบตเตอรี่ใช้งานได้ไม่นาน (แต่ต้องทำใจเมื่อเทียบจากประสิทธิภาพของตัวเครื่อง)
- ทัชแพ็ดทำงานได้แย่ ความแม่นยำต่ำ อาจเป็นเพราะการใช้ไม้ไผ่เป็นวัสดุในการประกอบตัวเครื่อง
- ชิปกราฟิกถือว่าอยู่ในเกณฑ์ต่ำไปหน่อย เมื่อเทียบจากขนาดตัวเครื่อง น่าจะให้ชิปกราฟิกระดับกลามากกว่า
- จอใหญ่จริง แต่ความละเอียดหน้าจอกลับอยู่ในระดับมาตรฐาน คือ 1,366x768 พิกเซล
- เทคโนโลยีสลับชิปกราฟิกของ NVIDIA (Optimus) ยังมีปัญหากับบางโปรแกรม เช่น โปรแกรมหนักๆ แต่กลับไม่ยอมปรับไปใช้ชิปกราฟิกแยก เป็นต้น เมื่อใช้งานจริง อาจต้องหมั่นอัพเดตไดรเวอร์เวอร์ชันล่าสุดเสมอๆ
สรุป:
จากผลการทดสอบของทีมงาน เราพบว่า U53J เป็นโน้ตบุ๊คที่มีประสิทธิภาพอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง ค่อนไปทางดี วัสดุที่นำมาประกอบตัวเครื่อง ถือว่าช่วยอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ อย่างไรก็ตามก่อนตัดสินใจเลือกซื้อมาใช้งาน ควรพิจารณาเรื่องระยะเวลาการใช้งานด้วยแบตเตอรี่ที่ค่อนข้างสั้น และเรื่องของทัชแพ็ดที่ทำงานได้ค่อนข้างแย่ เนื่องจากการใช้ไม่ไผ่เป็นวัสดุในส่วนของทัชแพ็ดนั่นเอง
ถ้าถามว่าน่าซื้อหรือไม่ กับโน้ตบุ๊คประสิทธิภาพสูง (ยกเว้นชิปกราฟิก) และมีเทคโนโลยีด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม คงต้องบอกว่า "เกินจำเป็น" หากจะให้คุ้มค่า ทาง Asus น่าจะใช้ชิปกราฟิกระดับกลางหรือสูงไปเลย จะเหมาะกว่า รวมถึงเรื่องของความละเอียดหน้าจอที่ควรจะสูงกว่าโน้ตบุ๊คทั่วไป...
Specifications: รายละเอียดของตัวเครื่อง
Specifications: รายละเอียดของตัวเครื่อง
ราคา | ติดต่อตัวแทนจำหน่าย |
ซีพียู | Intel Core i7-620M (ความเร็ว 2.67GHz, 6MB L3 Cache, QPI) |
ชิปเซต | Intel HM55 Express |
แรม | 4GB DDR3 |
ชิปกราฟิก | NVIDIA GeForce 310M (แรมบนชิปกราฟิก 1GB) |
ขนาดหน้าจอ | 15.6 นิ้ว (ความละเอียดสูงสุด 1,366x768 พิกเซล) |
ฮาร์ดดิสก์ | 500GB (ความเร็วสูงสุด 5,400 รอบต่อวินาที) |
แบตเตอรี่ | 6-Cell Li-Ion |
พอร์ต | 2x USB 2.0, 1x USB 3.0 |
1x Ethernet (LAN) | |
1x D-Sub (VGA) | |
1x HDMI | |
ขนาด | N/A |
น้ำหนัก | N/A |
จากตาราง Specification แสดงข้อมูลเบื้องต้นให้เราได้ทราบว่า Asus U53J เครื่องนี้ มาพร้อมซีพียู Intel Core i7 รุ่น 620M ซึ่งมีความเร็วปกติอยู่ที่ 2.67GHz (เมื่อใช้เทคโนโลยี Intel Turbo Boost จะเพิ่มความเร็วให้สูงขึ้นไปได้ถึง 3.2GHz แบบอัตโนมัติ) เลยทีเดียว
Design: การออกแบบ
จุดเด่นของ U53J เครื่องนี้ อยู่ที่การนำไม้ไผ่ มาใช้เป็นส่วนหนึ่งของวัสดุประกอบเครื่อง (ผสมกับพลาสติก) ไล่ตั้งแต่ฝาเครื่อง ซึ่งจะเห็นว่าเป็นการนำไม้ไผ่มาใช้เป็นฝาเครื่องทั้งหมด โดยจะพบเพียงโลโก้ Asus อยู่บริเวณกึ่งกลาง (โลโก้ที่ว่านี้ ไม่มีลูกเล่นพิเศษ เช่น มีไฟส่องสว่างเวลาเปิดเครื่อง หรือเรืองแสงได้แต่อย่างใด)
มุมซ้ายบนเหนือแป้นคีย์บอร์ดจะเป็นปุ่มสำหรับเรียกใช้งาน Asus Express Gate
ส่วนมุมขวาบน จะเป็นปุ่มสำหรับเปิดเครื่อง
มุมซ้ายล่าง จะมีโลโก้เด่นๆ อยู่ 3 ชิ้น ได้แก่ โลโก้ Intel Core i7, โลโก้ NVIDIA GeForce 310M และโลโก้ NVIDIA Optimus ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสลับชิปกราฟิกออนบอร์ด (Intel GMA HD) และชิปกราฟิกแยก (NVIDIA GeForce 310M) ตามโปรแกรมที่ถูกโหลดขึ้นมาใช้งานอัตโนมัติ
มุมขวาล่าง จะมีโลโก้ของ Asus ซึ่งจะแสดงฟีเจอร์เด่นๆ อาทิ Asus Express Gate ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่สามารถเรียกขึ้นมาใช้ได้ภายใน 8 วินาที (ใช้เพื่อทำงานทั่วๆ ไป เช่น ท่องเว็บไซต์ ดูรูปภาพ ฟังเพลง เป็นต้น), Asus Power4Gear ซึ่งจะเตรียมการปรับแต่งระบบจัดการพลังงานมาให้พร้อมใช้งานทันที เพียงแค่เลือกระบบที่ต้องการ เครื่องก็จะจัดการส่วนที่เหลือให้อัตโนมัติ เป็นต้น
Keyboard & Touchpad: คีย์บอร์ดและทัชแพ็ด
แป้นคีย์บอร์ดของ U53J จะเป็นแป้นขนาดใหญ่ และมีปุ่มกดหลักๆ เตรียมมาให้ครบครัน ทั้งในส่วนของปุ่มตัวอักษรและปุ่มตัวเลข ทำให้เวลาใช้งานเพื่อพิมพ์ตัวเลขต่างๆ สะดวก รวดเร็วยิ่งขึ้น (ตัวเครื่องทดสอบ จะไม่มีการสกรีนภาษาไทยบนปุ่มให้) ในการทดสอบวางนิ้วเพื่อพิมพ์ข้อความต่างๆ พบว่า ด้วยขนาดแป้นคีย์บอร์ดที่ค่อนขางใหญ่ ทำให้พิมพ์งานติดต่อกันนานๆ ได้ดี ไม่ปวดเมื่อยบริเวณข้อมือ ระยะห่างของปุ่มกดแต่ละตัว ใกล้เคียงกับระยะห่างของแป้นคีย์บอร์ดมาตรฐานที่ใช้กับเดสก์ทอปทั่วไป
ส่วนทัชแพ็ดนั้น ดูจะมีขนาดเล็กไปหน่อย เมื่อเทียบกับขนาดคีย์บอร์ด ทั้งนี้ปุ่มสำหรับกดแทนการคลิกซ้าย/ขวา จะอยู่ด้านล่างของทัชแพ็ด (ไม่แยกปุ่มให้) จากการทดสอบคลิกบนทัชแพ็ด พบว่ามันทำงานผิดพลาดบ่อยครั้ง การเลื่อนนิ้วไปมา ไม่ราบลื่นเท่าที่ควร ทั้งนี้อาจเป็นเพราะพื้นผิวของทัชแพ็ดซึ่งเป็นไม้ไผ่ ทำให้การใช้งานจริงค่อนข้างลำบากก็เป็นได้
Screen & Speakers: หน้าจอและระบบเสียง
หน้าจอของ U53J เป็นหน้าจอขนาดใหญ่ถึง 15.6 นิ้ว ความละเอียดสูงสุดที่ 1,366x768 พิกเซล แบบ LCD ซึ่งจุดนี้ ทำให้ค่อนข้างน่าผิดหวัง เนื่องจากขนาดตัวเครื่องที่ใหญ่
แกนพับหน้าจอของ U53J มีขนาดใหญ่ ทำให้มันสามารถรองรับการเปิด/ปิดหน้าจอได้ค่อนข้างดี ให้ความรู้สึกถึงความแข็งแรงได้
Ports: การเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่น
ด้านหน้าตัวเครื่อง จะไม่มีพอร์ตเชื่อมต่อหรือเครื่องอ่านการ์ด พบเพียงไฟแสดงสถานะในการทำงานต่างๆ เช่น ไฟเปิดเครื่อง ไฟฮาร์ดดิสก์ หรือไฟสัญญาณไวร์เลส เป็นต้น
ด้านขวาของตัวเครื่อง จะมีออปติคอลไดรว์ ซึ่งเป็น Blu-ray Disc Drive รองรับการอ่านแผ่น Blu-ray ได้ ถัดไปเป็นพอร์ต USB 3.0, พอร์ต Ethernet (พอร์ต LAN) และพอร์ต D-Sub (พอร์ต VGA)
ด้านซ้ายของตัวเครื่อง จะมีช่องเสียบสายสำหรับชาร์จไฟ, รูระบายความร้อน, เครื่องอ่านการ์ดหน่วยความจำ, พอร์ต HDMI, พอร๋ต USB 2.0 จำนวน 2 พอร์ต และสุดท้ายจะเป็นช่องเสียบหูฟัง/ไมโครโฟน
ด้านหลังของตัวเครื่อง ไม่มีพอร์ตใดๆ เช่นกัน พบเพียงก้อนแบตเตอรี่ขนาดใหญ่เท่านั้น
ด้านใต้ของตัวเครื่อง จะมีช่องขนาดใหญ่สำหรับใส่ฮาร์ดดิสก์และแผงแรมอยู่บริเวณมุมซ้ายบน ด้านบนจะมีลำโพงแยกแชนแนลซ้าย/ขวา ส่วนด้านล่างจะเป็นปุ่มสำหรับปลดล็อคและก้อนแบตเตอรี่
หม้อแปลงไฟฟ้าที่มาพร้อมกับตัวเครื่อง ถือว่ามีขนาดค่อนข้างใหญ่พอสมควร
Performance: ความเร็วและประสิทธิภาพ
Windows Experience Index (WEI): 4.3 คะแนน
CPU-Z: Intel Core i7-620M (2.67GHz, 6MB L3-Cache, QPI) + 4GB DDR3
GPU-Z: NVIDIA GeForce 310M
3DMark 06: 3,490 คะแนน (ทดสอบที่ความละเอียด 1,366x768 พิกเซล, ปรับค่าดีฟอลต์)
CINEBENCH R11.5: CPU = 2.13 คะแนน, OpenGL = 1.64 คะแนน
Battery Life: ระยะเวลาการใช้งานด้วยแบตเตอรี่
Battery Eater Pro: 1 ชั่วโมง 50 นาที (ทดสอบด้วยโหมด High Performance, ความสว่างหน้าจอสูงสุด)